ซอยพยุงทอง แผ่นใส ขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ซอยพยุงทอง […]
Category Archives: ซอยพยุงทอง
ซอยพยุงทอง
ซอยพยุงทอง is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
ซอยพยุงทอง เป็นซอยแห่งหนึ่งในเขตสะพานสูง
สะพานสูง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบึงกุ่มและเขตคันนายาว มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตลาดกระบัง มีคลองลาดบัวขาว คลองบึงขวาง และคลองแม่จันทร์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตประเวศและเขตสวนหลวง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองบึงบ้านม้า คลองโคลัด คลองวังใหญ่บน และคลองบ้านม้า 2 เป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
เขตสะพานสูงเป็นท้องที่ที่มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย คลองที่มีความสำคัญ ได้แก่ คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า 1 คลองทับช้างล่าง คลองลาดบัวขาว คลองสะพานสูง คลองหลอแหล เป็นต้น ตั้งแต่อดีตมีการสร้างสะพานข้ามคลองขึ้นเพื่อให้ผู้คนทั้งสองฝั่งคลองเหล่านั้นสามารถติดต่อไปมาหาสู่กันได้ แต่เนื่องจากการเดินทางทางน้ำมีความสำคัญมาก จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานทรงสูงเข้าไว้เพื่อให้เรือทุกขนาดสามารถลอดผ่านไปได้สะดวก สะพานลักษณะดังกล่าวมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นที่มาของชื่อ “สะพานสูง”[3]
ประวัติ[แก้]
ตำบลสะพานสูง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลนี้ด้วยในปี พ.ศ. 2506[4] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสะพานสูงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสะพานสูง อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ
ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป[7] อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูงและหมู่ที่ 7-12 ของแขวงประเวศ เขตประเวศ จัดตั้งเป็น เขตสะพานสูง[8]
และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงสะพานสูงเต็มพื้นที่เขตสะพานสูงอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[9][10] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตสะพานสูงได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[9] เขตคันนายาว[9] เขตหลักสี่[11] เขตวังทองหลาง[12] และเขตคลองสามวา[13]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงราษฎร์พัฒนาและแขวงทับช้างแยกจากพื้นที่แขวงสะพานสูง โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตสะพานสูงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง[14] ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
สะพานสูง | Saphan Sung |
29,009
|
10,985
|
||
ราษฎร์พัฒนา | Rat Phatthana |
42,538
|
17,202
|
||
ทับช้าง | Thap Chang |
24,289
|
10,254
|
||
ทั้งหมด |
28.124
|
95,836
|
38,441
|
3,407.62
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสะพานสูง[15] |
---|
ตราสัญลักษณ์ประจำเขต[แก้]
ตราสัญลักษณ์ประจำเขตสะพานสูง มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ และความหมายดังนี้
- พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนก้อนเมฆแบบด้านตรง เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครซึ่งได้จำลองจากภาพฝีพระหัตถ์ของพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ซึ่งได้ทรงเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษาของพระองค์ โดยพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ให้ความหมายแก่ภาพฝีพระหัตถ์นี้ว่า หมายถึง การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ปวงประชาและทายาทของพระองค์ท่านได้ทรงอนุมัติให้กรุงเทพมหานครจำลองภาพไปเป็นเครื่องหมาย เพื่อให้สมเกียรติกับความหมายที่พระองค์ท่านได้ประทานไว้แต่ก่อน และกรุงเทพมหานครได้ใช้ภาพนี้เป็นเครื่องหมายต้นแบบตราเครื่องหมายของกรุงเทพมหานคร
- สะพาน เป็นเอกลักษณ์ของเขตสะพานสูง ซึ่งมีลำคลองมากมายการสัญจรใช้ทางน้ำเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานทรงสูงเข้าไว้ เพื่อให้เรือน้อยใหญ่ลอดผ่านใต้สะพานได้สะดวก รวมถึงประชาชนสามารถใช้สะพานเดินข้ามคลองไปมาหาสู่กันได้ทั้งสองฝั่งคลองอีกทางหนึ่ง
- น้ำ หมายถึง เขตสะพานสูงเป็นเขตที่มีคลองมากมาย และประชาชนมีความผูกพันกับคลอง
- ดอกไม้ หมายถึง ความเป็นธรรมชาติ และความร่มรื่น
- สีเขียว หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ
- สีส้ม หมายถึงเป็นสีประจำสำนักงานเขตสะพานสูง[16]
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตสะพานสูงมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก
- ถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดลาดบัวขาว[17]
- มัสยิดอัลยุซรอ (หลอแหล)
- มัสยิดนูรุ้ลเอี๊ยะห์ซาน (ทับช้างบน)
- หอศิลป์ช่วง มูลพินิจ[18]
- โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
- โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่
- โรงพยาบาลการุณเวช (เกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 เดิม)
- สมาคมพิทักษ์สัตว์ (ไทย)
- โรงเรียนศรีพฤฒา