ซอยโอฬาร 2 ลูกหมุน : ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน ซอยโอฬาร 2 […]
Category Archives: ซอยโอฬาร 2
ซอยโอฬาร 2
ซอยโอฬาร 2 is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ซอยโอฬาร 2 is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
เขตบึงกุ่ม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที่
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตบึงกุ่มตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคันนายาว มีคลองตาเร่งและถนนรามอินทราเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคันนายาว มีคลองบางชวดด้วน คลองหลวงวิจิตร คลองลำชะล่า คลองหนองแขม คลองลำปลาดุก คลองระหัส ถนนเสรีไทย และคลองกุ่มเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกะปิและเขตลาดพร้าว มีคลองแสนแสบ ถนนศรีบูรพา ถนนนวมินทร์ คลองลำพังพวย คลองตาหนัง คลองลำเจียก คลองอ้ายหลาว คลองเกรียง และถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ประมาณ พ.ศ. 2386 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาวในปัจจุบัน[3] ในย่านนั้นมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกจากคลองแสนแสบและไหลผ่านบึงเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่[4] มีต้นกุ่มขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก[5] จึงเรียกแหล่งน้ำสองแห่งนั้นว่า “คลองกุ่ม” และ “บึงกุ่ม”
ประวัติ[แก้]
เมื่อมีผู้คนอพยพเข้าไปอาศัยและทำมาหากินในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ย่านคลองกุ่มและพื้นที่ใกล้เคียงจึงได้รับการจัดตั้งเป็น ตำบลคลองกุ่ม เป็นตำบลหนึ่งที่ขึ้นกับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคลองกุ่มด้วยใน พ.ศ. 2506[6]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลคลองกุ่มได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองกุ่ม อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ
เนื่องจากเขตบางกะปิมีพื้นที่กว้างขวางมากและมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่โดยแยกแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่โดยใช้ชื่อว่า เขตบึงกุ่ม[9] เนื่องจากตั้งสำนักงานเขตอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะบึงกุ่ม[5] จนกระทั่ง พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยยกฐานะแขวงคันนายาวรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงคลองกุ่ม[10] ขึ้นเป็นเขตคันนายาว[11] และยกฐานะแขวงสะพานสูงขึ้นเป็นเขตสะพานสูง[11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม[12] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบึงกุ่มแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2562) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
คลองกุ่ม | Khlong Kum |
10.811
|
69,536
|
35,061
|
6,431.96
|
นวมินทร์ | Nawamin |
4.885
|
27,279
|
13,049
|
5,584.23
|
นวลจันทร์ | Nuan Chan |
8.615
|
45,422
|
27,241
|
5,272.43
|
ทั้งหมด |
24.311
|
142,237
|
75,351
|
5,850.72
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบึงกุ่ม[13] |
---|
ตราสัญลักษณ์ประจำเขต[แก้]
ตราสัญลักษณ์ประจำเขตบึงกุ่ม มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ และความหมายดังนี้
- พื้นน้ำสีฟ้าคราม แทนความหมายของความสงบสุข ร่มเย็น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
- ดอกกุ่มสามดอก แทนความหมายของประชาชนในพื้นที่เขตบึงกุ่มทั้งสามศาสนา ทั้งไทยพุทธ คริสต์ อิสลาม ที่อยู่ร่วมกันด้วยความรัก สามัคคี
- นกสองตัวบินอยู่บนท้องฟ้าเหนือพื้นดิน ผืนน้ำ แทนความหมายของความเป็นอิสระในความคิด แสดงถึงการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสอดคล้องและเดินไปในทิศทางเดียวกัน รูปวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายข้างต้นทั้งหมด แทนความหมายของความสมานสามัคคี ความกลมเกลียวกัน
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตบึงกุ่มมีทางสายหลัก ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350 (รัชดาภิเษก-รามอินทรา)
- ถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร-นวมินทร์-กาญจนาภิเษก)
- ถนนนวมินทร์
- ถนนเสรีไทย
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู (กำลังก่อสร้าง)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
วัดบางเตย
- สวนเสรีไทย
- พิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
- พิพิธภัณฑ์บึงกุ่ม
- สวนเฉลิมพระเกียรติ
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
- โรงเรียนวัดพิชัย
- โรงเรียนพิชัยพัฒนา
- โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์
- วัดสุวรรณประสิทธิ์
- วัดพิชัย