สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย สะพ […]
Category Archives: สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช | |
---|---|
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
|
|
เส้นทาง | ถนนสาทรเหนือ, ถนนสาทรใต้, ถนนกรุงธนบุรี รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม |
ข้าม | แม่น้ำเจ้าพระยา |
ที่ตั้ง | เขตสาทร, เขตบางรัก, เขตคลองสาน |
ชื่อทางการ | สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช |
เจ้าของ | กรมทางหลวงชนบท |
เหนือน้ำ | สะพานพระปกเกล้า |
ท้ายน้ำ | สะพานพระราม 3 |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานชนิดต่อเนื่อง |
วัสดุ | คอนกรีตอัดแรง |
ความยาว | 224.00 เมตร |
ความกว้าง | 12.85 เมตร |
ความสูง | 12.00 เมตร |
ช่วงยาวที่สุด | 92.00 เมตร |
จำนวนช่วง | 3 |
ประวัติศาสตร์ | |
วันเริ่มสร้าง | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 |
วันสร้างเสร็จ | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 |
วันเปิด | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 |
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่รู้จักในนาม สะพานสาทร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสาทร (เขตสาทรและเขตบางรัก) กับถนนกรุงธนบุรี (เขตคลองสาน) เป็นสะพานคู่แยกขาเข้า-ขาออก และเว้นเนื้อที่ระหว่างสะพานไว้เผื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนอื่น โดยปัจจุบัน พื้นที่ระหว่างสะพานเป็นรางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม และพื้นที่ในฝั่งพระนครยังเป็นที่ตั้งของสถานีสะพานตากสินอีกด้วย
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นที่รู้กันของชาวกรุงเทพฯ ว่าประสบปัญหาการจราจรอย่างหนัก โดยเฉพาะขาเข้าฝั่งพระนคร เนื่องจากปริมาณรถมาก และเชิงสะพานฝั่งพระนครมีสัญญาณไฟจราจร จึงเป็นการปิดกั้นกระแสรถจากฝั่งธนบุรีซึ่งมีปริมาณมากให้ไหลไปได้ช้า โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนที่มีปริมาณรถมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนตั้งอยู่ปลายสะพานทางฝั่งพระนครซึ่งในช่วงเวลาเช้าจะมีผู้ปกครองจอดรถเพื่อส่งเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก และใช้เวลานานมาก ซึ่งเป็นที่มาส่วนหนึ่งของการจราจรที่ติดขัดเป็นพิเศษ[1]
ข้อมูลทั่วไป[แก้]
- วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
- วันเปิดการจราจร : วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
- บริษัทที่ทำการก่อสร้าง :
- Italian Thai Development Corporation Co., Ltd. ของประเทศไทย
- Dragages of Travaux Publics Co., Ltd. ของประเทศฝรั่งเศส
- Impresa Generale di Construzion (Italvie-Spa.) ของประเทศอิตาลี
- ราคาค่าก่อสร้าง : 619,994,537.00 บาท
- แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
- โครงสร้างส่วนบน : คอนกรีตอัดแรง
- สูงจากระดับน้ำ : 12.00 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (66.00+92.00+66.00)
- ตัวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำความยาว : 224.00 เมตร
- ช่วงกลางแม่น้ำมีความยาว : 92.00 เมตร
- เชิงลาดสะพานฝั่งพระนครด้านเหนือน้ำ : 552.00 เมตร
- เชิงลาดสะพานฝั่งพระนครด้านใต้น้ำ : 570.00 เมตร
- เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 475.00 เมตร
- ความกว้างของสะพาน : 12.85 เมตร
- ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 19.50 เมตร
- ความกว้างช่องละ : 3.25 เมตร
- ทางเท้ากว้าง : 1.60 เมตร
- ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44
- สูงจากระดับน้ำ : 12.00 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
- สร้างสะพานเป็นแบบสะพานคู่ ห่างกัน : 15.00 เมตร
- จำนวนช่องทางวิ่ง : 6 ช่องทางจราจร
- ทางเท้ากว้าง : 1.60 เมตร
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ “THE 1979 BANGKOK MASS TRANSIT MASTERPLAN”. 2bangkok.com. สืบค้นเมื่อ 2007-11-27. (อังกฤษ)