ลำลูกกา ลอนฝ้า เมทัลชีทลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย ลำลูกก […]
Category Archives: อำเภอลำลูกกา
อำเภอลำลูกกา
อำเภอลำลูกกา is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyword name in category.
อำเภอลำลูกกา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
MK Metalsheet Products Company Limited
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอลำลูกกาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอธัญบุรี มีแนวเส้นขนานคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปทางทิศใต้ 1.6 กิโลเมตรเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ (จังหวัดนครนายก) และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองสิบสี่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม และเขตดอนเมือง (กรุงเทพมหานคร) มีแนวคันนาระหว่างจังหวัดปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร คลองพระยาสุเรนทร์ คลองหกวาสายล่าง คลองสอง แนวรั้วหมู่บ้านการ์เด้นโฮมวิลเลจ แนวรั้วอนุสรณ์สถานแห่งชาติ แนวเส้นตรงผ่านแนวรั้วโรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร แนวรั้วหมู่บ้านวังทอง และแนวรั้วบริษัทดอนเมืองพัฒนาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานี มีคลองเปรมประชากร ถนนลูกรัง และทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอลำลูกกาสมัยก่อนเป็นที่ราบลุ่มเต็มไปด้วยป่าพงป่าอ้อ เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั่วไป สภาพของพื้นที่เป็นที่รกร้างกว้างใหญ่ มีชื่อเรียกว่า “ทุ่งหลวง” ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ประมาณปี พ.ศ. 2433 พระองค์ทรงเห็นว่าทุ่งหลวงกว้างใหญ่ไพศาลมาก ควรให้ประชาชนเข้ามาอยู่เป็นที่พักอาศัยทำมาหากิน ประกอบกับมีพระราชดำริว่า กรุงสยาม คลองเป็นสำคัญ สมควรต้องขุดทุกปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ดำเนินการขุดคลองหกวา เริ่มจากคลองซอยที่ 2 ไปจนถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นระยะทาง 900 เส้นเศษ และขุดคลองซอยที่เป็นระยะห่างกัน 60 เส้น จำนวน 16 คลอง ผลจากการขุดคลองนี้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นกันดารต่างอพยพหลั่งไหลเข้ามาอาศัยอยู่และทำการปลูกมากยิ่งขึ้น
สำหรับชื่ออำเภอลำลูกกานี้ตามประวัติบอกว่า แต่เดิมนั้นในท้องที่อำเภอนี้มีลำธารไหลผ่านมาบรรจบเป็นรูปตีนกา และปรากฏว่ามีนกมาอาศัยทำรังอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะที่รวมของลำธารนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง ปลา อาหารของสัตว์นานาชนิด ประชาชนจึงเรียนบึงนี้ว่า “บึงลำลูกกา” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นใกล้กับบึงนี้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2447 จึงขนานนามว่า อำเภอลำลูกกา สันนิษฐานว่าเป็นเพราะนิยมใช้คำสั้น ๆ
ส่วนนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ถึง ปัจจุบัน
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลลำลูกกา ในท้องที่บางส่วนของตำบลลำลูกกา และ ตำบลบึงคำพร้อย [1]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2504 จัดตั้งสุขาภิบาลลำไทร ในท้องที่บางส่วนของตำบลลำไทร [2]
- วันที่ 14 ตุลาคม 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลลำลูกกา โดยครอบคลุมขยายออกไปในบางหมู่บ้านของตำบลลำลูกกา และ ตำบลบึงคำพร้อย [3]
- วันที่ 28 เมษายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลคูคต ในท้องที่บางส่วนของตำบลคูคต [4]
- วันที่ 10 สิงหาคม 2532 ตั้งตำบลพืชอุดม แยกออกจากตำบลลำไทร [5]
- วันที่ 5 พฤษภาคม 2539 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคูคต เป็น เทศบาลเมืองคูคต [6]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลลำลูกกา และ สุขาภิบาลลำไทร เป็น เทศบาลตำบลลำลูกกา และ เทศบาลตำบลลำไทร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
พื้นที่อำเภอลำลูกกาแบ่งเขตการปกครองย่อย เป็น 8 ตำบล (tambon)
ลำดับที่ | ตำบล | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2561) [7] |
ประชากรในเขตเทศบาล (พ.ศ. 2561) [7] |
|
---|---|---|---|---|---|
1. | คูคต (Khu Khot) |
18 | 110,750 | 45,009 65,741 |
(ทม. คูคต) (ทม. ลำสามแก้ว) |
2. | ลาดสวาย (Lat Sawai) |
11 | 64,484 | 64,484 | (ทม. ลาดสวาย) |
3. | บึงคำพร้อย (Bueng Kham Phroi) |
19 | 42,559 | 10,961 30,238 |
(ทต. ลำลูกกา) (อบต. บึงคำพร้อย) |
4. | ลำลูกกา (Lam Luk Ka) |
21 | 29,024 | 6,731 22,293 |
(ทต. ลำลูกกา) (อบต. ลำลูกกา) |
5. | บึงทองหลาง (Bueng Thonglang) |
22 | 10,756 | 10,756 | (อบต. บึงทองหลาง) |
6. | ลำไทร (Lam Sai) |
14 | 8,702 | 2,696 6,006 |
(ทต. ลำไทร) (อบต. ลำไทร) |
7. | บึงคอไห (Bueng Kho Hai) |
12 | 7,637 | 7,637 | (อบต. บึงคอไห) |
8. | พืชอุดม (Phuet Udom) |
9 | 3,957 | 3,957 | (อบต. พืชอุดม) |
รวม | 126 | 277,869 | 277,869 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
อำเภอลำลูกกาประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองคูคต ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 4 – 5, 8 – 11, 13 – 18 ตำบลคูคต บางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7 และ 12 ตำบลคูคต
- เทศบาลเมืองลำสามแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 1 – 2 ตำบลคูคต บางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7 และ 12 ตำบลคูคต (นอกเขตเทศบาลเมืองคูคต)
- เทศบาลเมืองลาดสวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดสวายทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 2, 9 ตำบลลำไทร บางส่วนของหมู่ที่ 1, 3 – 7 และ 10 – 11 ตำบลลำไทร
- เทศบาลตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 15 – 16 ตำบลบึงคำพร้อย บางส่วนของหมู่ที่ 4 – 6, 17 และ 19 ตำบลบึงคำพร้อย และพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 11, 18, 20 – 21 ตำบลลำลูกกา บางส่วนของหมู่ที่ 5, 10, 12 และ 18 – 19 ตำบลลำลูกกา
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ที่ 1 – 3, 7 – 14, 18 ตำบลบึงคำพร้อย บางส่วนของหมู่ที่ 4 – 6, 17 และ 19 ตำบลบึงคำพร้อย (นอกเขตเทศบาลตำบลลำลูกกา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำลูกกา ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดหมู่ที่ 1 – 4, 6 – 9, 13 – 17 ตำบลลำลูกกา บางส่วนของหมู่ที่ 5, 10, 12 และ 18 – 19 ตำบลลำลูกกา (นอกเขตเทศบาลตำบลลำลูกกา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงทองหลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงทองหลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดหมู่ที่ 8, 12 – 14 ตำบลลำไทร บางส่วนของหมู่ที่ 1, 3 – 7 และ 10 – 11 ตำบลลำไทร (นอกเขตเทศบาลตำบลลำไทร)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบึงคอไห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงคอไหทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพืชอุดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพืชอุดมทั้งตำบล
การคมนาคม[แก้]
เส้นทางสายหลักของอำเภอลำลูกกา ได้แก่
- ถนนลำลูกกา (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312)
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)
- ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1)
- ถนนวิภาวดีรังสิต (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31)
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต – คูคต (กำลังก่อสร้าง)
เส้นทางสายรองของอำเภอลำลูกกา ได้แก่
- ถนนนิมิตใหม่
- ถนนหทัยราษฏร์
- ถนนลำลูกกา-ธัญบุรี (คลอง 7) (ทางหลวงชนบท ปท.3004)
- ถนนอบจ.ปท.2006
- ถนนไสวประชาราษฏร์ (พระองค์เจ้าสาย)
ทำหลังคาโรงงาน ถนนหทัยราษฎร์ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธา […]
เปลี่ยนหลังคาทาวน์เฮ๊าส์ ถนนนิมิตใหม่ อำเภอลำลูกกา จังห […]
ต่อเติมหลังคาข้างบ้าน ถนนนิมิตใหม่ อำเภอลำลูกกา ต่อเติม […]