ถนนศรีอยุธยา ลอนฝ้า เมทัลชีท ลอนผนัง ถนนศรีอยุธยา ลอนฝ้ […]
Category Archives: ถนนศรีอยุธยา
ถนนศรีอยุธยา
ถนนศรีอยุธยา is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
ถนนศรีอยุธยา เป็นถนนเส้นหนึ่งใน เขตราชเทวี
เขตราชเทวี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดินแดง มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตปทุมวัน มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ชื่อเขตตั้งตามสี่แยกราชเทวีซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยมาจากชื่อ สะพานพระราชเทวี ซึ่งข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี
โดยคำว่า “พระราชเทวี” ตั้งตามพระนาม พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระยศในขณะนั้น; พระยศต่อมาคือ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)
ประวัติศาสตร์[แก้]
พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน และไปขึ้นกับอำเภอดุสิต และต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอพญาไทยกฐานะขึ้นเป็นเขตพญาไท ตำบล 4 ตำบลดังกล่าวจึงมีฐานะเป็นแขวง
ต่อมาในท้องที่เขตพญาไทมีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่นขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง การบริหารราชการ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศให้แบ่งพื้นที่แขวง 4 แขวงดังกล่าวซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพญาไทจัดตั้งเป็น เขตราชเทวี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งเขตดินแดงขึ้น โดยนำพื้นที่บางส่วนของแขวงมักกะสันไปรวมด้วย
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 89 ราย
19 มกราคม พ.ศ. 2557 ช่วงบ่าย เกิดการโจมตีด้วยระเบิดอีก ณ จุดชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 คน ถาวร เสนเนียม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งอยู่ที่จุดชุมนุมเชื่อว่าเขาเป็นเป้าระเบิด ชายไม่ทราบรูปพรรณขว้างวัตถุระเบิดใกล้เตนท์ศูนย์สื่อหลังเวทีชุมนุมแล้วหลบหนีเมื่อเวลา 13.30 น.[2] รักษาความปลอดภัยที่จุดชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยบนถนนราชดำเนินนอกถูกนำส่งโรงพยาบาลจากกระสุนปืนจากมือปืนไม่ทราบตัวในเย็นวันเดียวกัน[3] มีผู้เสียชีวิตในวันดังกล่าว ได้แก่นายอานนท์ ไทยดี ซึ่งถูกระเบิดที่บริเวณจุดเกิดเหตุ[4]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ทุ่งพญาไท | Thung Phaya Thai |
2.559
|
32,744
|
10,396
|
12,795.62
|
ถนนพญาไท | Thanon Phaya Thai |
1.136
|
9,057
|
10,874
|
7,972.71
|
ถนนเพชรบุรี | Thanon Phetchaburi |
1.148
|
14,551
|
11,593
|
12,675.08
|
มักกะสัน | Makkasan |
2.283
|
15,600
|
16,151
|
6,833.11
|
ทั้งหมด |
7.126
|
71,952
|
49,014
|
10,097.10
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตราชเทวี[5] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายสำคัญของเขตราชเทวี ได้แก่
- ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนบรรทัดทอง ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงแยกเพชรพระราม
- ถนนพญาไท ตั้งแต่สะพานหัวช้างถึงสะพานข้ามคลองสามเสน (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
- ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงแยกอโศก-เพชรบุรี
- ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงแยกมักกะสัน
- ถนนราชวิถี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงแยกสามเหลี่ยมดินแดง
- ถนนราชดำริ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกประตูน้ำ
- ถนนราชปรารภ ตั้งแต่แยกประตูน้ำถึงแยกสามเหลี่ยมดินแดง
- ถนนชิดลม ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกชิดลม-เพชรบุรี
- ถนนวิทยุ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกวิทยุ-เพชรบุรี
- ถนนอโศกมนตรี ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกอโศก-เพชรบุรี
- ถนนอโศก-ดินแดง ตั้งแต่แยกอโศก-เพชรบุรีถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนจตุรทิศ
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษศรีรัช
ถนนสายรองลงไป เช่น ถนนนิคมมักกะสัน ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนโยธี ถนนรางน้ำ ถนนกำแพงเพชร 5 เป็นต้น
นอกจากนี้ ในพื้นที่เขตยังมี ทางรถไฟสายเหนือ และ ทางรถไฟสายตะวันออก ตัดผ่าน รวมทั้งมีเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟใต้ดิน และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานด้วย
ในส่วนของรถไฟ ในพื้นที่เขตมี สถานีรถไฟมักกะสัน ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ใกล้กับโรงงานรถไฟมักกะสันของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ในส่วนของรถไฟฟ้าลอยฟ้าและใต้ดิน มีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีราชเทวี สถานีพญาไท และสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กับสถานีรถไฟใต้ดิน ได้แก่ สถานีเพชรบุรี และมีสถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3 สถานี ได้แก่ สถานีมักกะสัน สถานีพญาไท และสถานีราชปรารภ
ส่วนการสัญจรทางน้ำ ในพื้นที่เขตมี คลองแสนแสบ เป็นคลองเขตแดนทางทิศใต้ของเขต ในอดีตท่าเรือที่บริเวณ ประตูน้ำ เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าทางน้ำที่มาทางเรือตามคลองแสนแสบที่เคยคึกคักมาก ในปัจจุบันการสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือโดยสารคลองแสนแสบ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อันเป็นจุดชุมทางสำคัญที่มีรถประจำทางผ่านหลายสาย และยังเป็นจุดผ่านของรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วย ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตราชเทวี นอกจากนั้นในบริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยังมีท่ารถตู้จากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่างๆ ด้วย
สถานที่สำคัญ[แก้]
เขตราชเทวีเป็นที่ตั้งของย่านที่ทำการรัฐบาล ย่านธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และย่านสถานศึกษาที่สำคัญ นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์กลางคมนาคม มีประชากรอาศัยในเขตนี้ค่อนข้างหนาแน่นและยังมีชุมชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพิเศษเฉพาะด้วย
สถานที่สำคัญที่กล่าวถึงในคำขวัญของเขตคือ
- พระราชวังพญาไท ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เขตพญาไท หรืออำเภอพญาไทเดิม ก่อนหน้าที่จะมีการปรับปรุงอาณาเขตของเขตพญาไทใหม่ จนทำให้พื้นที่พระราชวังพญาไทกลายมาเป็นอยู่ในเขตราชเทวี และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่พลเรือนที่มีส่วนร่วมต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศในยามสงคราม ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่เคยเป็นสี่แยกระหว่างถนนราชวิถีกับถนนพหลโยธิน ซึ่งในอดีตเรียกว่า สี่แยกสนามเป้า
- พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด บนถนนศรีอยุธยา
- อาคารใบหยก 1 อาคารใบหยก 2 ซึ่งเคยเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทั้งสองอาคารอยู่ในบริเวณย่านประตูน้ำ
- ชุมชนชาวไทยมุสลิมเชื้อสายจามที่บ้านครัว ซึ่งอพยพเข้ามาจากกัมพูชาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และมีอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เคยเลืองลือในอดีตคือ การทอผ้าไหม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นาย จิม ทอมป์สัน นักธุรกิจชาวอเมริกันได้ฟื้นฟูการทอผ้าไหมไทยที่ขณะนั้นกำลังซบเซา และนำผ้าไหมไทยออกไปเผยแพร่ในระดับโลกจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงยิ่งของประเทศไทย โดยได้ร่วมมือกับช่างทอผ้าไหมในชุมชนบ้านครัวนี้