Category Archives: ถนนตรีเพชร

ถนนตรีเพชร

ถนนตรีเพชร is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search  by the focus keyword in category.

ถนนตรีเพชร เป็นถนนแห่งหนึ่งใน เขตพระนคร

ถนนตรีเพชร (อักษรโรมันThanon Tri Phet) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเจริญกรุง (แยกเฉลิมกรุง ตรงข้ามถนนตีทอง) ไปทางทิศใต้ ตัดกับถนนพาหุรัดที่แยกพาหุรัด แล้วตรงไปถึงเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งถนนจักรเพชรตัดผ่าน

ถนนตรีเพชรเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง พระราชโอรสซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2430 ขณะพระชันษา 7 ปี และพระราชทานชื่อถนนว่า “ถนนตรีเพชร”

เดิมนั้นถนนตรีเพชรเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเจริญกรุงจดถนนพาหุรัด ต่อมาใน พ.ศ. 2441 โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนตรีเพชรต่อจากถนนพาหุรัดถึงถนนจักรเพชร และใน พ.ศ. 2475 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีงานฉลองพระนคร 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าขึ้นในแนวตรงจากถนนตรีเพชร จึงให้ขยายถนนตรีเพชรตั้งแต่ช่วงจดถนนพาหุรัดถึงช่วงจดถนนจักรเพชร ปัจจุบันถนนตรีเพชรมีระยะทางรวม 650 เมตร โดยผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วัดราชบุรณราชวรวิหารห้างไนติงเกลดิโอลด์สยามพลาซ่า และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นต้น[1]

ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560 ถนนตรีเพชรห้ามจอดรถทุกชนิดโดยเด็ดขาด ตั้งแต่แยกพาหุรัดถึงแยกเฉลิมกรุงฝั่งทิศตะวันตก ตั้งแต่เวลา 06.00–19.00 น. และเวลา 18.00–06.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามราชกิจจานุเบกษา เช่นเดียวกับถนนอีกหลายสายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ถนนพัฒนาการ ซอยทองหล่อ

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม. มีประชากรตามทะเบียนราษฎรกว่า 5 ล้านคน ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเอกนคร (Primate City) จัด มีผู้กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็น “เอกนครที่สุดในโลก” เพราะมีประชากรมากกว่านครที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ถึง 40 เท่า[2]

มหาวิทยาลัยลัฟเบอระ (Loughborough University) จัดกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครโลกระดับแอลฟาลบ[3] กรุงเทพมหานครยังเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลก[4] มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆ วัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีแหล่งจับจ่ายใช้สอยและค้าขายที่สำคัญซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากมาย โดยในปี พ.ศ. 2555 องค์กรการท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ได้จัดอันดับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีคนเดินทางเข้าเป็นอันดับที่ 10 ของโลกและเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย โดยมีคนเดินทางมากกว่า 26.5 ล้านคน[5] นอกจากนี้จากการจัดอันดับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมาสเตอร์การ์ด ประจำปี พ.ศ. 2557 กรุงเทพมหานครมีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของนักท่องเที่ยวถึง 16.42 ล้านดอลลาร์ เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เท่านั้น[6]

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด คำว่า “กรุงเทพมหานคร” นั้นยังใช้เรียกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย กรุงเทพมหานครมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง แต่ปัจจุบันผู้บริหารกรุงเทพมหานครมาจากการแต่งตั้ง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานครยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็กอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมามีขนาดเพิ่มขึ้นและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง 2 แห่งคือ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ. 2311 และกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2325 กรุงเทพมหานครเป็นหัวใจของการทำให้ประเทศสยามทันสมัยและเป็นเวทีกลางของการต่อสู้ทางการเมืองของประเทศตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 20 นครเติบโตอย่างรวดเร็วและปัจจุบันมีผลกระทบสำคัญต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สื่อและสังคมสมัยใหม่ของไทย ในช่วงที่การลงทุนในเอเชียรุ่งเรือง ทำให้บรรษัทข้ามชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ภูมิภาคในกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพมหานครเป็นกำลังหลักทางการเงินและธุรกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งและสาธารณสุขระหว่างประเทศและกำลังเติบโตเป็นศูนย์กลางศิลปะ แฟชัน และการบันเทิงในภูมิภาค อย่างไรก็ดี การเติบโตอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครขาดการวางผังเมือง ทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ถนนที่จำกัดและการใช้รถส่วนบุคคลอย่างกว้างขวางส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด

เนื้อหา

ประวัติ[แก้]

แผนที่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ใน Du Royaume de Siam ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์

พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า “บางกอก” มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[7] มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง[7]

ที่มาของคำว่า “บางกอก” นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า “บางเกาะ” หรือ “บางโคก” หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า “บางมะกอก” โดยคำว่า “บางมะกอก” มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก[7][8]

ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313[7] ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา[7]

พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 9 บาท (54 นาที) ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น.[7] และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325[9]

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น จังหวัดพระนคร[10]

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น ทรงดำริให้ตัดถนนเจริญกรุง เป็นถนนเส้นแรกในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404[11] และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น[12]

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี[13] และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ[14]

ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 รัฐบาล สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร เป็นครั้งแรก[15]ภายหลังจากนั้นรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528[16]วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[17]วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551[18]วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2552[19]วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553[20]และ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557[21]

ในปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้รับการประกาศจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นเมืองหนังสือโลก หรือ World Book Capital ประจำปี พ.ศ. 2556[22] กรุงเทพมหานครติดอันดับที่ 102 เมืองน่าอยู่ของโลก จัดอันดับโดย The Economist Intelligence Unit[23]

ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ได้ออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ เนื่องจากวิกฤตปัญหามลพิษ โดยมีโรงเรียนจำนวนมากรวมถึงมหาวิทยาลัย[24]ที่สั่งปิดการเรียนการสอน ผู้ป่วยจำนวนมากเป็นเด็ก[25]

Call Now Button