ถนนอู่ทองนอก แผ่นครอบ : บานเกล็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลา […]
Category Archives: ถนนอู่ทองนอก
ถนนอู่ทองนอก
ถนนอู่ทองนอก is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
ถนนอู่ทองนอก เป็นถนนแห่งหนึ่งในเขตดุสิต
เขตดุสิต เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางซื่อ มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตราชเทวี มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตพระนคร มีคลองมหานาคและคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงจัดรูปแบบการปกครองใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย โดยจัดการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในมณฑลกรุงเทพมีกระทรวงนครบาลดูแล แบ่งเขตปกครองออกเป็นอำเภอและตำบลเช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ โดย อำเภอดุสิต เป็น 1 ใน 8 อำเภอชั้นใน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ริมคลองเปรมประชากร ถนนสุโขทัย
ในปี พ.ศ. 2481 อำเภอบางซื่อซึ่งเป็นอำเภอชั้นนอกทางทิศเหนือ ได้ถูกยุบลงเป็นตำบลมาขึ้นกับอำเภอดุสิต และเนื่องจากทางอำเภอมีจำนวนประชากรและพื้นที่กว้างขวางมาก กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกตำบลสามเสนใน ตำบลมักกะสัน ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลถนนพญาไท ไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางกะปิ เพื่อจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท ในปี พ.ศ. 2509
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอดุสิตจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีหน่วยการปกครองย่อย 6 แขวง
ต่อมา ในพื้นที่เขตดุสิตมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังมีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบแขวงบางซื่อ ซึ่งได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งเป็นเขตบางซื่อ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 [2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตดุสิตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ดุสิต | Dusit |
2.233
|
12,583
|
2,533
|
5,635.02
|
วชิรพยาบาล | Wachiraphayaban |
1.074
|
10,808
|
3,062
|
10,063.31
|
สวนจิตรลดา | Suan Chit Lada |
1.737
|
8,821
|
2,471
|
5,078.29
|
สี่แยกมหานาค | Si Yaek Maha Nak |
0.339
|
7,422
|
2,434
|
21,893.81
|
ถนนนครไชยศรี | Thanon Nakhon Chai Si |
5.282
|
55,220
|
20,794
|
10,454.37
|
ทั้งหมด |
10.665
|
94,854
|
31,294
|
8,893.95
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตดุสิต[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนน
- ถนนประชาราษฎร์ สาย 1
- ถนนทหาร
- ถนนประดิพัทธิ์
- ถนนสามเสน
- ถนนอำนวยสงคราม
- ถนนเศรษฐศิริ
- ถนนนครไชยศรี
- ถนนสุโขทัย
- ถนนราชวิถี
- ถนนศรีอยุธยา
- ถนนพิษณุโลก
- ถนนนครสวรรค์
- ถนนอู่ทองนอก
- ถนนอู่ทองใน
- ถนนราชดำเนินนอก
- ถนนนครราชสีมา
- ถนนกรุงเกษม
- ถนนขาว
- ถนนสวรรคโลก
- ถนนเทอดดำริ
- ถนนพระรามที่ 5
- ถนนพระรามที่ 6
- ถนนเตชะวณิช
- ถนนเขียวไข่กา
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามี 1 สะพาน คือ
- สะพานกรุงธนบุรี (ซังฮี้) เชื่อมระหว่างเขตดุสิตกับเขตบางพลัด
รถไฟ
- ทางรถไฟสายเหนือก็ผ่านพื้นที่เขตนี้ โดยถือเป็นแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตดุสิตกับเขตราชเทวีและเขตพญาไทด้วย มี สถานีรถไฟจิตรลดา หรือสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต แต่เป็นสถานีพิเศษที่มิได้เปิดใช้เป็นการทั่วไปต่อสาธารณชน โดยใช้ที่หยุดรถโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นจุดโดยสารแทน และยังมี สถานีสามเสนตั้งอยู่ในแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต นอกจากนั้นยังมีที่หยุดรถไฟยมราช ตั้งอยู่ในแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต
ทางน้ำ อาศัย แม่น้ำเจ้าพระยา ในการคมนาคมและสัญจร
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 เกิดเหตุไฟไหม้และระเบิดกรมสรรพาวุธทหารบก เขตดุสิต โดยเหตุเกิดที่โรงงานผลิตจรวด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 38 ราย บาดเจ็บ 350 คน
สถานที่สำคัญ[แก้]
วัง[แก้]
- พระราชวังดุสิต ซึ่งมีพระบรมรูปทรงม้า อยู่ที่ ลานพระราชวังดุสิต หรือที่เรียกกันว่า “ลานพระรูป” และมีพระที่นั่งและพระตำหนักหลายองค์ในบริเวณพระราชวังดุสิต ที่สำคัญ อาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม และ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่ประทับประจำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเมื่อประทับในกรุงเทพมหานคร
- วังศุโขทัย
- วังสวนกุหลาบ
- วังปารุสกวัน ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- วังจันทรเกษม ปัจจุบันเป็นที่ทำการกระทรวงศึกษาธิการ
- วังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
- วังสวนสุนันทา ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สถานที่ทำการรัฐบาล และหน่วยงานราชการ[แก้]
- ทำเนียบรัฐบาล
- รัฐสภาไทย
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
- สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
- บ้านพิษณุโลก
- บ้านมนังคศิลา
- หอสมุดแห่งชาติ
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กองบัญชาการ กองทัพภาคที่ 1 กองทัพบก
- กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล. 1 รอ.) กองทัพภาคที่ 1 กองทัพบก
- กรมการทหารสื่อสาร
- กรมการขนส่งทหารบก
- กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- กรมสรรพาวุธทหารบก
- กรมสวัสดิการทหารบก (สก.ทบ.)
- กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)
- กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1)
- สถานีตำรวจนครบาลสามเสน
- สถานีตำรวจนครบาลดุสิต