ถนนพญาไท เมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนพญาไท เมทัลชีท : […]
Category Archives: แขวงถนนพญาไท
แขวงถนนพญาไท
แขวงถนนพญาไท is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
แขวงถนนพญาไท เป็นแขวงหนึ่งใน 4 แขวงของ เขตราชเทวี
เขตราชเทวี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตดินแดง มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนอโศก-ดินแดงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตปทุมวัน มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ชื่อเขตตั้งตามสี่แยกราชเทวีซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างถนนพญาไทกับถนนเพชรบุรี โดยมาจากชื่อ สะพานพระราชเทวี ซึ่งข้ามคลองประแจจีน (ปัจจุบันถูกถมไปแล้ว) บนถนนพญาไท ก่อนเข้าถนนเพชรบุรี
โดยคำว่า “พระราชเทวี” ตั้งตามพระนาม พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระยศในขณะนั้น; พระยศต่อมาคือ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี)
ประวัติศาสตร์[แก้]
พื้นที่เขตราชเทวีเดิมมีฐานะเป็นตำบล 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลมักกะสัน ซึ่งเกิดจากการยุบรวมตำบลเล็ก ๆ เข้าด้วยกัน และไปขึ้นกับอำเภอดุสิต และต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้ย้ายมาขึ้นกับอำเภอพญาไท
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอพญาไทยกฐานะขึ้นเป็นเขตพญาไท ตำบล 4 ตำบลดังกล่าวจึงมีฐานะเป็นแขวง
ต่อมาในท้องที่เขตพญาไทมีความเจริญและมีผู้คนหนาแน่นขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการปกครอง การบริหารราชการ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศให้แบ่งพื้นที่แขวง 4 แขวงดังกล่าวซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของเขตพญาไทจัดตั้งเป็น เขตราชเทวี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งเขตดินแดงขึ้น โดยนำพื้นที่บางส่วนของแขวงมักกะสันไปรวมด้วย
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
เหตุการณ์แก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ พ.ศ. 2533 เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2533 มีผู้เสียชีวิต 89 ราย
19 มกราคม พ.ศ. 2557 ช่วงบ่าย เกิดการโจมตีด้วยระเบิดอีก ณ จุดชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 28 คน ถาวร เสนเนียม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งอยู่ที่จุดชุมนุมเชื่อว่าเขาเป็นเป้าระเบิด ชายไม่ทราบรูปพรรณขว้างวัตถุระเบิดใกล้เตนท์ศูนย์สื่อหลังเวทีชุมนุมแล้วหลบหนีเมื่อเวลา 13.30 น.[2] รักษาความปลอดภัยที่จุดชุมนุมของเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทยบนถนนราชดำเนินนอกถูกนำส่งโรงพยาบาลจากกระสุนปืนจากมือปืนไม่ทราบตัวในเย็นวันเดียวกัน[3] มีผู้เสียชีวิตในวันดังกล่าว ได้แก่นายอานนท์ ไทยดี ซึ่งถูกระเบิดที่บริเวณจุดเกิดเหตุ[4]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตราชเทวีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ทุ่งพญาไท | Thung Phaya Thai |
2.559
|
32,744
|
10,396
|
12,795.62
|
ถนนพญาไท | Thanon Phaya Thai |
1.136
|
9,057
|
10,874
|
7,972.71
|
ถนนเพชรบุรี | Thanon Phetchaburi |
1.148
|
14,551
|
11,593
|
12,675.08
|
มักกะสัน | Makkasan |
2.283
|
15,600
|
16,151
|
6,833.11
|
ทั้งหมด |
7.126
|
71,952
|
49,014
|
10,097.10
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตราชเทวี[5] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายสำคัญของเขตราชเทวี ได้แก่
- ถนนพระรามที่ 6 ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนบรรทัดทอง ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหานาคถึงแยกเพชรพระราม
- ถนนพญาไท ตั้งแต่สะพานหัวช้างถึงสะพานข้ามคลองสามเสน (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ)
- ถนนเพชรบุรี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงแยกอโศก-เพชรบุรี
- ถนนศรีอยุธยา ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงแยกมักกะสัน
- ถนนราชวิถี ตั้งแต่ทางรถไฟสายเหนือถึงแยกสามเหลี่ยมดินแดง
- ถนนราชดำริ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกประตูน้ำ
- ถนนราชปรารภ ตั้งแต่แยกประตูน้ำถึงแยกสามเหลี่ยมดินแดง
- ถนนชิดลม ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกชิดลม-เพชรบุรี
- ถนนวิทยุ ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกวิทยุ-เพชรบุรี
- ถนนอโศกมนตรี ตั้งแต่สะพานข้ามคลองแสนแสบถึงแยกอโศก-เพชรบุรี
- ถนนอโศก-ดินแดง ตั้งแต่แยกอโศก-เพชรบุรีถึงสะพานข้ามคลองสามเสน
- ถนนจตุรทิศ
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษศรีรัช
ถนนสายรองลงไป เช่น ถนนนิคมมักกะสัน ซอยสุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนโยธี ถนนรางน้ำ ถนนกำแพงเพชร 5 เป็นต้น
นอกจากนี้ ในพื้นที่เขตยังมี ทางรถไฟสายเหนือ และ ทางรถไฟสายตะวันออก ตัดผ่าน รวมทั้งมีเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟใต้ดิน และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานด้วย
ในส่วนของรถไฟ ในพื้นที่เขตมี สถานีรถไฟมักกะสัน ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟสายตะวันออก ใกล้กับโรงงานรถไฟมักกะสันของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ในส่วนของรถไฟฟ้าลอยฟ้าและใต้ดิน มีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 3 สถานี ได้แก่ สถานีราชเทวี สถานีพญาไท และสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กับสถานีรถไฟใต้ดิน ได้แก่ สถานีเพชรบุรี และมีสถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3 สถานี ได้แก่ สถานีมักกะสัน สถานีพญาไท และสถานีราชปรารภ
ส่วนการสัญจรทางน้ำ ในพื้นที่เขตมี คลองแสนแสบ เป็นคลองเขตแดนทางทิศใต้ของเขต ในอดีตท่าเรือที่บริเวณ ประตูน้ำ เป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าทางน้ำที่มาทางเรือตามคลองแสนแสบที่เคยคึกคักมาก ในปัจจุบันการสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือโดยสารคลองแสนแสบ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อันเป็นจุดชุมทางสำคัญที่มีรถประจำทางผ่านหลายสาย และยังเป็นจุดผ่านของรถไฟฟ้าบีทีเอสด้วย ก็ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตราชเทวี นอกจากนั้นในบริเวณรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิยังมีท่ารถตู้จากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดต่างๆ ด้วย
สถานที่สำคัญ[แก้]
เขตราชเทวีเป็นที่ตั้งของย่านที่ทำการรัฐบาล ย่านธุรกิจการค้าและการท่องเที่ยว สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และย่านสถานศึกษาที่สำคัญ นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์กลางคมนาคม มีประชากรอาศัยในเขตนี้ค่อนข้างหนาแน่นและยังมีชุมชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพิเศษเฉพาะด้วย
สถานที่สำคัญที่กล่าวถึงในคำขวัญของเขตคือ
- พระราชวังพญาไท ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ เขตพญาไท หรืออำเภอพญาไทเดิม ก่อนหน้าที่จะมีการปรับปรุงอาณาเขตของเขตพญาไทใหม่ จนทำให้พื้นที่พระราชวังพญาไทกลายมาเป็นอยู่ในเขตราชเทวี และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกถึงทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่พลเรือนที่มีส่วนร่วมต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศในยามสงคราม ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่เคยเป็นสี่แยกระหว่างถนนราชวิถีกับถนนพหลโยธิน ซึ่งในอดีตเรียกว่า สี่แยกสนามเป้า
- พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด บนถนนศรีอยุธยา
- อาคารใบหยก 1 อาคารใบหยก 2 ซึ่งเคยเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย ทั้งสองอาคารอยู่ในบริเวณย่านประตูน้ำ
- ชุมชนชาวไทยมุสลิมเชื้อสายจามที่บ้านครัว ซึ่งอพยพเข้ามาจากกัมพูชาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และมีอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่เคยเลืองลือในอดีตคือ การทอผ้าไหม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นาย จิม ทอมป์สัน นักธุรกิจชาวอเมริกันได้ฟื้นฟูการทอผ้าไหมไทยที่ขณะนั้นกำลังซบเซา และนำผ้าไหมไทยออกไปเผยแพร่ในระดับโลกจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงยิ่งของประเทศไทย โดยได้ร่วมมือกับช่างทอผ้าไหมในชุมชนบ้านครัวนี้