นวลจันทร์ ลอนฝ้า เมทัลชีท ลอนผนัง นวลจันทร์ ลอนฝ้า เมทั […]
Category Archives: เขตบึงกุ่ม
เขตบึงกุ่ม
เขตบึงกุ่ม is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.
เขตบึงกุ่ม Khet Bueng Kum is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.
สำนักงานเขตบึงกุ่ม – กรุงเทพมหานคร
เขตบึงกุ่ม – วิกิพีเดีย
สำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร – Home | Facebook
บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด
MK Metalsheet Products Company Limited
เขตบึงกุ่ม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที่
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตบึงกุ่มตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคันนายาว มีคลองตาเร่งและถนนรามอินทราเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคันนายาว มีคลองบางชวดด้วน คลองหลวงวิจิตร คลองลำชะล่า คลองหนองแขม คลองลำปลาดุก คลองระหัส ถนนเสรีไทย และคลองกุ่มเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกะปิและเขตลาดพร้าว มีคลองแสนแสบ ถนนศรีบูรพา ถนนนวมินทร์ คลองลำพังพวย คลองตาหนัง คลองลำเจียก คลองอ้ายหลาว คลองเกรียง และถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ประมาณ พ.ศ. 2386 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาวในปัจจุบัน[3] ในย่านนั้นมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกจากคลองแสนแสบและไหลผ่านบึงเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่[4] มีต้นกุ่มขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก[5] จึงเรียกแหล่งน้ำสองแห่งนั้นว่า “คลองกุ่ม” และ “บึงกุ่ม”
ประวัติ[แก้]
เมื่อมีผู้คนอพยพเข้าไปอาศัยและทำมาหากินในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ย่านคลองกุ่มและพื้นที่ใกล้เคียงจึงได้รับการจัดตั้งเป็น ตำบลคลองกุ่ม เป็นตำบลหนึ่งที่ขึ้นกับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคลองกุ่มด้วยใน พ.ศ. 2506[6]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลคลองกุ่มได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองกุ่ม อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ
เนื่องจากเขตบางกะปิมีพื้นที่กว้างขวางมากและมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่โดยแยกแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่โดยใช้ชื่อว่า เขตบึงกุ่ม[9] เนื่องจากตั้งสำนักงานเขตอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะบึงกุ่ม[5] จนกระทั่ง พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยยกฐานะแขวงคันนายาวรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงคลองกุ่ม[10] ขึ้นเป็นเขตคันนายาว[11] และยกฐานะแขวงสะพานสูงขึ้นเป็นเขตสะพานสูง[11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม[12] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบึงกุ่มแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คลองกุ่ม | Khlong Kum |
10.811
|
69,485
|
34,724
|
6,440.75
|
นวมินทร์ | Nawamin |
4.885
|
27,556
|
12,731
|
5,640.94
|
นวลจันทร์ | Nuan Chan |
8.615
|
45,949
|
27,071
|
5,390.59
|
ทั้งหมด |
24.311
|
143,835
|
72,553
|
5,881.69
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบึงกุ่ม[13] |
---|
ตราสัญลักษณ์ประจำเขต[แก้]
ตราสัญลักษณ์ประจำเขตบึงกุ่ม มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ และความหมายดังนี้
- พื้นน้ำสีฟ้าคราม แทนความหมายของความสงบสุข ร่มเย็น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
- ดอกกุ่มสามดอก แทนความหมายของประชาชนในพื้นที่เขตบึงกุ่มทั้งสามศาสนา ทั้งไทยพุทธ คริสต์ อิสลาม ที่อยู่ร่วมกันด้วยความรัก สามัคคี
- นกสองตัวบินอยู่บนท้องฟ้าเหนือพื้นดิน ผืนน้ำ แทนความหมายของความเป็นอิสระในความคิด แสดงถึงการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสอดคล้องและเดินไปในทิศทางเดียวกัน รูปวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายข้างต้นทั้งหมด แทนความหมายของความสมานสามัคคี ความกลมเกลียวกัน
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตบึงกุ่มมีทางสายหลัก ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350 (รัชดาภิเษก-รามอินทรา)
- ถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร-นวมินทร์-กาญจนาภิเษก)
- ถนนนวมินทร์
- ถนนเสรีไทย
- รถไฟฟ้าสายสีชมพู (กำลังก่อสร้าง)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สวนเสรีไทย
- พิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
- พิพิธภัณฑ์บึงกุ่ม
- สวนเฉลิมพระเกียรติ
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
- โรงเรียนวัดพิชัย
- โรงเรียนพิชัยพัฒนา
- โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์
- วัดสุวรรณประสิทธิ์
- วัดพิชัย
นวมินทร์ ลูกหมุน : ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน นวมินทร์ ลูก […]
คลองกุ่ม แผ่นครอบ : บานเกล็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลาย ค […]
ถนนสุคนธสวัสดิ์ เมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ถนนสุคนธสวัส […]
ซอยสุวรรณประสิทธิ์ แผ่นใส ขาวขุ่น : แผ่นเดียว ก็ขาย ซอย […]
ซอยสมาคมแพทย์ แผ่นใส กระจก : แผ่นเดียว ก็ขาย ซอยสมาคมแพ […]
ซอยผู้ใหญ่สุนทร ลอนฝ้า เมทัลชีท ลอนผนัง ซอยผู้ใหญ่สุนทร […]
ซอยโอฬาร 2 ลูกหมุน : ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน ซอยโอฬาร 2 […]
ซอยอมรวิวัฒน์ แผ่นครอบ : บานเกล็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปล […]
ซอยสิงหเสนี 2 เมทัลชีท : แผ่นเดียว ก็ขาย ซอยสิงหเสนี 2 […]