ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์แผ่นครอบ : บานเกล็ด ติดฉนวนพีอี ย […]
Category Archives: ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์
ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์
ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์ เป็นถนนสายหลักของ เเขตบางนา
เขตบางนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นเขตชุมชนเมืองหนาแน่นปานกลางผสมกับชุมชนการเกษตร[ต้องการอ้างอิง]
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพระโขนง มีคลองบางอ้อ, ถนนวชิรธรรมสาธิต, ซอยวชิรธรรมสาธิต 32, ซอยอุดมสุข 29 และถนนอุดมสุขเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตประเวศและอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองเคล็ดและคลองบางนา (สาหร่าย) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
ท้องที่เขตบางนาในอดีตมีฐานะเป็น ตำบลบางนา เป็นเขตการปกครองหนึ่งของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง (เปลี่ยนชื่อมาจากนครเขื่อนขันธ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2457)[2] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 ทางราชการได้พิจารณาโอนตำบลบางนาไปขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการแทน เพื่อความสะดวกในการปกครอง[3] แต่ใน พ.ศ. 2472 ก็โอนกลับมาเป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง (ซึ่งได้ย้ายจากจังหวัดพระประแดงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ก่อนแล้ว) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันมากกว่าและประชาชนไปติดต่อธุระราชการได้สะดวกกว่า[4]
ต่อมาในท้องที่ตำบลบางนาเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่นขึ้น ในการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2498 ทางราชการจึงโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลบางนาเข้าไปในท้องที่ด้วย[5] ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลนั้นได้กลายเป็นท้องที่ในเขตสุขาภิบาลประเวศซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506[6] จนกระทั่งมีการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2507 จึงแยกไปรวมอยู่ในเขตเทศบาลทั้งตำบล[7]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลบางนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางนา ขึ้นกับเขตพระโขนง
ภายหลังในเขตพระโขนงและเขตอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น จำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรในเขตต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง โดยแยกแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากออกมาจัดตั้งเป็น เขตบางนา และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงบางนาเต็มพื้นที่เขตบางนา เพื่อให้เกิดความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[10][11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางนาและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 2 แขวง[12] โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตบางนาในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
บางนาเหนือ | Bang Na Nuea |
41,957
|
31,770
|
||
บางนาใต้ | Bang Na Tai |
48,165
|
35,839
|
||
ทั้งหมด |
18.789
|
90,125
|
67,609
|
4,796.68
|
โดยมีถนนสรรพาวุธและถนนเทพรัตนเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทั้ง 2 ดังกล่าว ตั้งแต่ท่าเรือสรรพาวุธจนถึงสะพานข้ามคลองบางนา
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางนา[13] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางนา ได้แก่
- ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ถนนวชิรธรรมสาธิตถึงซอยสุขุมวิท 107 (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนอุดมสุข ตั้งแต่แยกอุดมสุขถึงคลองเคล็ด
- ถนนเทพรัตน ตั้งแต่แยกบางนาถึงคลองบางนา (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนศรีนครินทร์ ตั้งแต่คลองเคล็ดจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนสรรพาวุธ ตั้งแต่แยกบางนาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ ตั้งแต่คลองบางอ้อจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตั้งแต่คลองบางอ้อถึงแยกบางนา
- ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์ ตั้งแต่คลองบางอ้อถึงแยกบางนา
- ทางพิเศษบูรพาวิถี ตั้งแต่แยกบางนาถึงคลองบางนา (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ระบบขนส่งมวลชน
- รถไฟฟ้าบีทีเอส (สถานีอุดมสุข สถานีบางนา และสถานีแบริ่ง)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดบางนาใน
- วัดบางนานอก
- วัดศรีเอี่ยม
- วัดผ่องพลอยวิทยาราม
- ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ (ไบเทค)
- ศูนย์พัฒนากีฬาราชนาวี บางนา
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 8 บุญรอด รุ่งเรือง
สถานศึกษา[แก้]
|
|