ถนนไมตรีจิต ลอนฝ้า เมทัลชีท ลอนผนัง ถนนไมตรีจิต ลอนฝ้า […]
Category Archives: ถนนไมตรีจิต
ถนนไมตรีจิต
ถนนไมตรีจิต is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by address the focus keyword name in category.
ถนนไมตรีจิต เป็นถนนสายหลักของ เขตคลองสามวา
เขตคลองสามวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ปัจจุบันเขตคลองสามวาเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากเขตสายไหม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีคลองเก้า คลองแบนชะโด และคลองลัดตาเตี้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตมีนบุรี มีคลองแสนแสบ คลองลำบึงไผ่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) คลองสามวา ลำรางสามวา คลองเจ๊ก ลำรางโต๊ะสุข ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ลำรางคูคต และคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบางเขน และเขตสายไหม มีคลองบางชัน คลองคู้บอน คลองคู้ชุมเห็ด และคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
บริเวณเขตคลองสามวาในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกท้องที่บริเวณทุ่งแสนแสบทางทิศตะวันออกของพระนครขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า “เมืองมีนบุรี“[3][4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นอำเภอที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) ใหม่แห่งนี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2474 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ทางการจึงได้ยุบจังหวัดมีนบุรีเข้ากับจังหวัดพระนคร[3] อำเภอเมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมีนบุรี
ในปี พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้โดยแบ่งพื้นที่จากตำบลทรายกองดิน[5] โดยในปีถัดมาก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีการปรับปรุงการบริหารราชการเมืองหลวงใหม่ อำเภอมีนบุรีจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร[7] แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 แขวง
ต่อมาเขตมีนบุรีมีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญเพิ่มขึ้น ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแยกพื้นที่ 5 แขวงทางด้านเหนือของเขตมีนบุรีมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และได้ใช้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตคลองสามวา[8] เพื่อคงชื่อในประวัติศาสตร์ไว้[9] โดยสำนักงานเขตคลองสามวาได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[8][9] พร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตหลักสี่[10] เขตสายไหม[11] เขตคันนายาว[11] เขตสะพานสูง[11] และเขตวังทองหลาง[12]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตคลองสามวาแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2562) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2562) |
---|---|---|---|---|---|
สามวาตะวันตก | Sam Wa Tawan Tok |
24.249
|
58,123
|
23,595
|
2,396.92
|
สามวาตะวันออก | Sam Wa Tawan Ok |
40.574
|
26,325
|
9,087
|
648.81
|
บางชัน | Bang Chan |
18.644
|
87,715
|
40,135
|
4,704.73
|
ทรายกองดิน | Sai Kong Din |
11.396
|
12,962
|
4,952
|
1,137.41
|
ทรายกองดินใต้ | Sai Kong Din Tai |
15.823
|
16,969
|
4,643
|
1,072.42
|
ทั้งหมด |
110.686
|
202,094
|
82,412
|
1,825.83
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคลองสามวา[13] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตคลองสามวามีถนนสายหลักซึ่งเชื่อมการคมนาคมเขตนี้เข้ากับเขตใกล้เคียง ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก (ฝั่งตะวันออก) เชื่อมระหว่างเขตคันนายาว เขตบางเขน เขตสายไหม เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ถนนนิมิตใหม่ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ถนนหทัยราษฎร์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
- ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตคลองสามวา
- ถนนคู้บอนและถนนเลียบคลองสอง เชื่อมระหว่างเขตคันนายาวกับเขตคลองสามวา
- ถนนปัญญาอินทรา เชื่อมระหว่างเขตคันนายาวกับเขตคลองสามวา
- ถนนไมตรีจิต เชื่อมระหว่างเขตคลองสามวากับเขตหนองจอก
- ถนนประชาร่วมใจ เชื่อมระหว่างเขตคลองสามวากับเขตหนองจอก
- ทางพิเศษฉลองรัช เชื่อมระหว่างเขตคลองสามวา เขตสายไหม และเขตพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร
ส่วนถนนสายรองและถนนที่ตัดผ่านเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ได้แก่
|
|
ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน
สถานที่สำคัญ[แก้]
โรงเรียน[แก้]
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย
- โรงเรียนสาธิตพัฒนา
- โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์
- โรงเรียนโสมาภาพัฒนา
- โรงเรียนวัดแป้นทอง
- โรงเรียนขุมทองวิทยา
- โรงเรียนประชาราษฎร์อุปภ์วิทยา
- โรงเรียนวัดสุขใจ
- โรงเรียนสุเหร่าแสนแสบ
- โรงเรียนสุเหร่าคลองหนึ่ง (มานะราษฎร์บำรุง)
- โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่
- โรงเรียนวัดสุทธิสะอาด
- โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์)
- โรงเรียนนีรชาศึกษา (สังกัด สช. อนุบาล ประถมศึกษา1-6 มัธยมศึกษา1-3)
วิทยาลัย[แก้]
- วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค (ปวช.,ปวส)
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเจริญพัฒนาบริหารธุรกิจ (ปวช.,ปวส)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีนีรชาบริหารธุรกิจ(ปวช.,ปวส.)
- วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ (ปวช., ปวส.) สถานศึกษาของรัฐบาล สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- ซาฟารีเวิลด์
- บางกอกฟาร์ม
- มัสยิดมาลุลอิสลาม
- มารีนปาร์ค
- วัดแป้นทองโสภาราม
- วัดพระยาสุเรนทร์
- วัดลำกระดาน
- วัดสัมมาชัญญาวาส (วัดใหม่)
- แหล่งเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม